ทำความเข้าใจการต่อภาษีรถยนต์ออนไลน์ 2564-2565
สวัสดีครับเพื่อนๆ วันนี้พวกเราทีมงาน Autotirechecking(ATC) จะพามาทำความเข้าใจการต่อภาษีรถยนต์ออนไลน์ 2564-2565 ไม่ใช่แค่รถยนต์เท่านั้นที่ต้องรู้ แต่รถยนต์ทุกคันนั้นอายุทะเบียนที่อนุญาตให้ขับขี่ได้เพียง 1 ปี ไม่ว่าจะเป็น รถเก๋ง รถตู้ รถแวน รถปิคอัพ ฯลฯ ล้วนจะต้องชำระเป็นค่าภาษีเป็นประจำปีทุกๆ ปี
ก่อนอื่นมาทำความเข้าใจกันก่อนสำหรับรถยนต์ที่ต้องการการต่อภาษีรถยนต์นั้นจะมีวิธีการแตกต่างกันเล็กน้อยแบ่งไปตามปีการจดทะเบียน และระบบพลังงาน
กลุ่มที่ 1 รถยนต์ใหม่ลงทะเบียนอายุไม่เกิน 7 ปี นับตั้งแต่วันจดทะเบียน และไม่ได้ติดแก๊ส CNG/NGV หรือ LPG
ในกลุ่มนี้ถือว่าเป็นกลุ่มที่มีการต่อภาษีได้ง่ายที่สุด สำหรับรถยนต์ที่มีอายุไม่เกิน 7 ปี นับตั้งแต่วันจดทะเบียน หรือวันได้ป้ายขาวนั้นเอง สำหรับท่านเจ้าของรถสามารถนำเล่มทะเบียนสีฟ้า ส่วนท่านที่ติดผ่อนธนาคารอยู่ให้ใช้สำเนาเล่มทะเบียนที่เป็นหลักฐานการจดทะเบียน โดยถ่ายด้านรายละเอียดเลขตัวถัง ทะเบียนและชื่อเจ้าของรถ สามารถนำไปต่อภาษีได้เลย และต้องแนบส่วนหาง พ.ร.บ. ด้วยเป็นข้อบังคับห้ามลือเด็ดขาด
สรุปเอกสารการต่อภาษีรถยนต์
- เล่มทะเบียนสีฟ้า หรือสำเนาเล่มทะเบียนที่เป็นหลักฐานการจดทะเบียน
- พ.ร.บ.
กลุ่มที่ 2 รถยนต์ใหม่ลงทะเบียนอายุไม่เกิน 7 ปี นับตั้งแต่วันจดทะเบียน และติดแก๊ส CNG/NGV หรือ LPG
การต่อภาษีรถยนต์ประเภทนี้ต้องมีการแจ้งการติดตั้งกับกรมขนส่ง และบันทึกไว้ในสมุดคู่มือทะเบียนรถ
ระยะเวลาการตรวจเช็คระบบแก๊สตามกรมการขนส่งทางบกกำหนด
- ถัง LPG ควรตรวจสอบระบบบรรจุก๊าซทุก 5 ปี
- ระบบ NGV/CNG ควรตรวจทุก 1 ปี
ระยะเวลาการตรวจเช็คถังแก๊สตามกรมการขนส่งทางบกกำหนด
- แก๊สระบบ LPG ทุก 10 ปี
- NGV ทุก 5 ปี
กล่าวคือเมื่อเข้าระยะเวล่การตรวจเช็คระบบแก๊ส และถังแก๊สแล้วก็ต้องแนบใบตรวจเช็คที่ได้จาก ตรอ. ที่ได้รับอนุญาตจากกรมขนส่ง พร้อมเล่มทะเบียนสีฟ้า หรือสำเนาเล่มทะเบียนที่เป็นหลักฐานการจดทะเบียน โดยถ่ายด้านรายละเอียดเลขตัวถัง ทะเบียนและชื่อเจ้าของรถ สามารถนำไปต่อภาษีได้เลย และต้องแนบส่วนหาง พ.ร.บ. เช่นเดียวกับ กลุ่มที่ 1
สรุปเอกสารการต่อภาษีรถยนต์
- เล่มทะเบียนสีฟ้า หรือสำเนาเล่มทะเบียนที่เป็นหลักฐานการจดทะเบียน
- พ.ร.บ.
- ใบตรวจเช็กสภาพ ระบบแก๊ส และถังแก๊ส (หากถือเวลาการตรวจเช็ก)
กลุ่มที่ 3 รถยนต์ที่ทะเบียนอายุเกิน 7 ปี นับตั้งแต่วันจดทะเบียน และไม่ได้ติดแก๊ส CNG/NGV หรือ LPG
ในกลุ่มรถยนต์มีอายุการใช้งานเกิน 7 ปี แต่ไม่มีการติดตั้งแก๊ส จะแตกต่างจาก กลุ่มที่ 1 และกลุ่มที่ 2 เนื่องจาก ในกลุ่มนี้ ท่านจะต้องนำรถยนต์ไปตรวจสภาพความพร้อมในการใช้งานกับสถานประกอบการเอกชนหรือ ตรอ. ที่ได้รับอนุญาตจากกรมขนส่ง หรือนำรถเข้าไปตรวจสภาพที่กรมขนส่งโดยตรง เพื่อให้ได้รับใบรับรองการตรวจเช็กความพร้อม เพื่อนำมายื่นพร้อมกับ พ.ร.บ. ในการต่อภาษีนั้นเอง
สรุปเอกสารการต่อภาษีรถยนต์
- เล่มทะเบียนสีฟ้า หรือสำเนาเล่มทะเบียนที่เป็นหลักฐานการจดทะเบียน
- เอกสารการรับรองความพร้อมในการใช้งานจาก ตรอ. หรือ กรมขนส่ง
- พ.ร.บ.
กลุ่มที่ 4 รถยนต์ที่ทะเบียนอายุเกิน 7 ปี นับตั้งแต่วันจดทะเบียน และติดแก๊ส CNG/NGV หรือ LPG
สำหรับรถยนต์มีอายุการใช้งานเกิน 7 ปี และทำงานดันแปรงติดตั้งแก๊ส นอกจากต้องตรวจสภาพกับ ตรอ.แล้ว จำเป็นต้องนำรถไปตรวจสอบระบบแก๊สด้วย ตามหลักเกณฑ์ที่เคยกล่าวมา
สรุปเอกสารการต่อภาษีรถยนต์
- เล่มทะเบียนสีฟ้า หรือสำเนาเล่มทะเบียนที่เป็นหลักฐานการจดทะเบียน
- เอกสารการรับรองความพร้อมในการใช้งานจาก ตรอ. หรือ กรมขนส่ง
- ใบตรวจเช็กสภาพ ระบบแก๊ส และถังแก๊ส (หากถือเวลาการตรวจเช็ก)
- พ.ร.บ.
แต่โดยส่วนใหญ่แล้วสำหรับรถยนต์ที่จดทะเบียนเกิน 7 ปี หากต้องการจะต่อภาษีรถยนต์เมื่อเข้าตรวจเช็กความพร้อมกับ ตรอ. ก็จะมีบริการต่อภาษีให้เราแค่นั้งรอจ่ายเงินก็เป็นอันเสร็จสิ้น
ขั้นตอนการยื่นชำระภาษีรถยนต์ผ่านอินเตอร์เน็ต
- เข้าเว็บไซต์ https://eservice.dlt.go.th
- ลงทะเบียนเพื่อขอรับรหัสผ่าน (สำหรับสมาชิกใหม่)
- Log-in เข้าสู่ระบบ
- ยื่นชำระภาษีรถยนต์ประจำปี ที่เมนู “ยื่นชำระภาษีรถยนต์ประจำปี”
- กรอกรายละเอียดเกี่ยวกับรถ เพื่อลงทะเบียนรถ แล้วยื่นชำระภาษี
- กรอกรายละเอียดเกี่ยวกับหลักฐานการเอาประกัน ตามพ.ร.บ. คุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ.2535 (กรณี พ.ร.บ. ที่มีความคุ้มครองมากกว่า 3 เดือน) หรือสามารถซื้อพ.ร.บ. ได้จากระบบ
- เลือกช่องทางการชำระเงินเพียง 1 ช่องทาง ได้แก่
- ชำระเงินโดยหักบัญชีเงินฝาก (ต้องมีบัญชีเงินฝากและเป็นสมาชิกใช้บริการโอนเงินผ่านระบบ
อินเตอร์เน็ตกับธนาคาร/สถาบันการเงิน) - ชำระเงินโดยบัตรเครดิต/บัตรเดบิต (เป็นผู้ถือบัตรเครดิต/บัตรเดบิต ที่มีสัญลักษณ์ VISA , Master Card)
- ชำระเงินโดยพิมพ์ใบแจ้งชำระภาษีรถแล้วนำไปชำระเงิน ณ เคาน์เตอร์ ตู้ ATM หรือ Application
ของธนาคาร/สถาบันการเงินที่เข้าร่วมโครงการ
- ชำระเงินโดยหักบัญชีเงินฝาก (ต้องมีบัญชีเงินฝากและเป็นสมาชิกใช้บริการโอนเงินผ่านระบบ
- กรณีชำระเงินยังไม่สำเร็จ/ยังไม่ได้ชำระเงิน สามารถเปลี่ยนช่องทางการชำระเงิน ได้ที่เมนู “ตรวจสอบผล
การชำระภาษี/เปลี่ยนช่องทางชำระเงิน” - สามารถตรวจสอบสถานะการดำเนินการยื่นชำระภาษี สถานะการจัดส่งเอกสาร หมายเลข EMS เลข
กรมธรรม์ หรือปัญหาจากการยื่นชำระ ได้ที่เมนู “ตรวจสอบผลการชำระภาษี/เปลี่ยนช่องทางชำระเงิน”
นอกจากนี้ยังสามารถตรวจสอบสถานะการชำระเงิน โดยคลิกที่ ปุ่มเครื่องหมายพิมพ์ จะแสดงรายละเอียดการ
ชำระเงินเป็นราย Reference - กรมการขนส่งทางบก จะจัดส่งใบเสร็จรับเงินเครื่องหมายแสดงการเสียภาษี และสมุดกรมธรรม์ พ.ร.บ
คุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ ให้ผู้ชำระเงินทางไปรษณีย์ตามที่อยู่จัดส่งเอกสารที่กรอกผ่านหน้าเว็บไซต์ - เจ้าของรถสามารถนำใบคู่มือจดทะเบียนรถไปปรับบันทึกรายการชำระภาษีได้ ณ สำนักงานขนส่งจังหวัด/
สาขา ทั่วประเทศ
รถที่สามารถยื่นชำระภาษีประจำปีผ่านระบบอินเตอร์เน็ตมีเงื่อนไขดังนี้
- เป็นรถยนต์นั่งส่วนบุคคลไม่เกิน 7 คน (รย.1), รถยนต์นั่งส่วนบุคคลเกิน 7 คน (รย.2), รถยนต์บรรทุกส่วนบุคคล (รย.3) และรถจักรยานยนต์ (รย.12) ที่จดทะเบียนทุกจังหวัด
- รถประเภท รย.1, รย.2 และ รย.3 ที่มีอายุการใช้งานเกิน 7 ปีนับจากวันจดทะเบียนครั้งแรก และรถ รย. 12 ที่มีอายุการใช้งานเกิน 5 ปี นับจากวันจดทะเบียนครั้งแรก ต้องผ่านการตรวจสภาพจากสถานตรวจสภาพรถเอกชน (ตรอ.) ก่อนชำระภาษี
- รถประเภท รย.1, รย.2 และ รย.3 ที่มีน้ำหนักไม่เกิน 2,200 กิโลกรัม หรือที่ไม่ต้องขอรับความเห็นชอบก่อนชำระค่าภาษีประจำปี
- รถที่ค้างชำระค่าภาษีประจำปี เกิน 1 ปี ต้องผ่านการตรวจสภาพจากสถานตรวจสภาพรถเอกชน (ตรอ.) ก่อนชำระภาษี
- ไม่ใช่รถที่ใช้ก๊าซธรรมชาติ (แก๊ส) ทุกชนิดเป็นเชื้อเพลิง
- เป็นรถที่มีสถานะทางทะเบียน หรือไม่ถูกระงับทะเบียนเนื่องจากค้างชำระภาษีประจำปี ติดต่อกันครบ 3 ปี
- ไม่ใช่รถที่ได้รับการยกเว้นค่าภาษีประจำปี
- ไม่ใช่รถที่ถูกอายัดทะเบียน
- ชำระภาษีประจำปีล่วงหน้าไม่เกิน 90 วัน ก่อนวันครบกำหนดชำระภาษี
เงื่อนไข พ.ร.บ. ประกอบการยื่นชำระภาษี
ระบบชำระภาษีรถประจำปีผ่านอินเตอร์เน็ต ผู้ยื่นชำระสามารถซื้อกรมธรรม์ได้ทั้งจากในระบบ และซื้อผ่านผู้ให้บริการภายนอก ทั้งนี้ต้องกรอกข้อมูลให้ถูกต้องตรงตามความจริง และข้อมูล พ.ร.บ. ที่ระบุจะถูกตรวจสอบ และเป็นหลักฐานทางกฎหมาย ถ้าระบุข้อมูลอันเป็นเท็จ ไม่ถูกต้อง ไม่เป็นความจริง มีผลต่อความคุ้มครองของกรมธรรม์
- กรณีซื้อกรมธรรม์ผ่านระบบ มีผู้ให้บริการ 2 ราย คือ บริษัทเทเวศประกันภัย จำกัด และบริษัทวิริยะประกันภัย จำกัด
- กรณีซื้อกรมธรรม์จากภายนอก โดยกรอกข้อมูลบริษัทประกันภัย เลขที่กรมธรรม์ และวันสิ้นสุดอายุความคุ้มครอง (วันสิ้นอายุความคุ้มครองต้องไม่น้อยกว่า 90 วัน นับจากวันที่ยื่นชำระภาษีถึงวันสิ้นอายุคุ้มครองของ พ.ร.บ.)
- กรมการขนส่งทางบก ขอแจ้งปรับปรุงเงื่อนไขการให้บริการยื่นชำระภาษีรถประจำปีผ่านอินเทอร์เน็ตสำหรับรถจักรยานยนต์ (รย.12) “ยกเลิก” การให้บริการซื้อกรมธรรม์ตามพ.ร.บ. คุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ.2535 ผ่านระบบตั้งแต่ 1 เมษายน 2562 เป็นต้นไปโดยผู้ยื่นชำระสามารถซื้อกรมธรรม์จากผู้ให้บริการภายนอกและนำข้อมูลมากรอกในระบบให้ถูกต้องเพื่อประกอบการยื่นชำระภาษีรถประจำปีต่อไป สอบถามเพิ่มเติม โทร.1584
อัตราค่าบริการ
- ค่าจัดส่งเอกสารทางไปรษณีย์ รายการละ 32 บาท(ตั้งแต่วันที่ 15 ม.ค.61 เป็นต้นไป)
- ค่าธรรมเนียมธนาคาร (กรณีชำระผ่านเคาน์เตอร์บริการ หรือหักบัญชีเงินฝาก) รายการละ 20 บาท
- ค่าธรรมเนียมการใช้บัตร (กรณีชำระด้วยบัตรเครดิต) 2% และ VAT 7% ของผลรวมยอดเงินทั้งหมด
ระยะเวลาการดำเนินงาน
กรณีที่ยื่นชำระภาษีตามขั้นตอนปกติไม่มีกรณีผิดพลาดหรือต้องตรวจสอบเพิ่มเติม ใช้ระยะเวลาดำเนินการดังนี้
- เริ่มนับจากวันที่ชำระเงินภาษีรถผ่านธนาคาร/สถาบันการเงิน สำเร็จ
- ธนาคาร/สถาบันการเงิน จัดส่งข้อมูลการชำระภาษีและจำนวนเงินให้กรมฯ 1 วันทำการถัดไป
- กระบวนการตรวจสอบและยืนยันความถูกต้องของข้อมูลและยอดเงินที่ชำระจากธนาคาร/สถาบันการเงิน 1-2 วันทำการ
- กระบวนการพิมพ์ใบเสร็จรับเงิน(ป้ายวงกลม) พร้อมจัดเตรียมเอกสารเพื่อนำส่งไปรษณีย์ หลังจากยืนยันความถูกต้องของข้อมูลและจำนวนเงินแล้ว 1-2 วันทำการ
- จัดส่งเอกสารให้กับผู้ชำระภาษีตามที่กรอกในเว็บไซต์โดยไปรษณีย์ ประมาณ 2-5 วันทำการ