Air Scoop ผสมผสานการออกแบบอากาศพลศาสตร์จากลายลูกกอล์ฟ
สวัสดีครับเพื่อนๆ วันนี้พวกเราทีมงาน Autotirechecking(ATC) จะพาเพื่อนๆไปดูเทคโนโลยีสนามแข่งของแบรนด์ Bugati กับการออกแบบเพื่อเพิ่มสมรรถนะของ Bugatti Bolide ด้วยการเพิ่มอากาศพลศาสตร์ของ Air Scoop หรือที่ดักลม สำหรับ Air Scoop ของ Bugatti Bolide ที่อยู่บนหลังคา ด้วยการออกแบบเรียนแบบลายของลูกกอล์ฟ
ประโยชน์ของพื้นผิวลายลูกกอล์ฟ
เชื่อหรือไม่นอกจากการออกแบบที่แปลกตาของลูกกอล์ฟแล้ว การออกแบบผิวหนังที่เป็นรอยบุ๋มจะช่วยให้ลูกกอล์ฟสามารถฝ่าอากาศไปได้ไกลกว่าลูกบอลแบบเรียบๆเป็น 2 เท่า เนื่องด้วยลายบุ๋มนั้นสร้างอากาศที่เป็น turbulence บนพื้นผิว อากาศโดยรอบของลูกกอล์ฟจะสร้างงการลดแรงต้านการ drag ของลูกกอล์ฟต่ออากาศ เมื่อพิจรณาถึงจุดนี้วิศวกรของ Bugatti จึงนำมาปรับใช้ในรถยนต์
การพัฒนาด้วยพื้นผิวลายลูกกอล์ฟครั้งแรก
การวิจัยของวิศวกรของ Bugatti เริ่มต้นการพัฒนาเจ้าลายบุ๋มของลูกกอล์ฟในชิ้นส่วนต้นแบบเพื่อระบายความร้อน ในส่วนของคาริปเปอร์เบรกไททาเนี่ยมที่มีลายปริ้น 3 มิติ
การพัฒนาบน Bugatti Bolide
แต่สำหรับ Bugatti Bolide โดยการพัฒนาพื้นผิวด้านนอกที่เปลี่ยนไปตามการใช้งานของ Air Scoop โดยออกแบบให้พื้นผิวเรียบเมื่อเมื่อความเร็วต่ำ และจะมีพื้นผิวลายลูกกอล์ฟเมื่อความเร็วสูง โดยจะมีลายบุ๋มอยู่ 60 จุด ที่ปรับขึ้นมาบนพื้นผิวได้ถึง 10 มิลลิเมตร โดยจะปรับขึ้นมาเมื่อความเร็วถึงราวๆ 120 กิโลเมตรต่อชั่วโมง
ผลลัพท์ที่น่าพอใจของอากาศพลศาสตร์
จากพื้นผิวที่เพิ่มเติมลายบุ๋มผลลัพท์ออกมาได้ดีด้วยความสมรรถนะในการลดแรง drag 10% และ ลดแรงยกถึง 17% ทำให้ผลการจับเวลาได้อย่างโดดเด่น ด้วยสมรรถนะของ Bugatti Bolide ที่เป็นเครื่องยนต์ W-16 8.0 ลิตร พร้อมเทอร์โบ 4 ลูก ติดตั้งกับระบบเกียร์ 7-speed แบบครัชคู่ นอกจากนั้นยังยกระบบขับเคลื่อนแบบ AWD ที่มาจาก Bugatti Chiron ด้วยพละกำลังมหาสาร 1,824 แรงม้า กำบแรงบิดอีก 1,365 ปอน ด้วยเชื้อเพลิง 110-octane ทำความเร็วได้สูงสุด 498 กิโลเมตรต่อชั่วโมง เลยทีเดียว