หลักการลมยางของสนามแข่ง
เคยคิดกันไหมครับว่าลมยางเท่าไหร่ถึงจะเหมาะสมกับใช้สมรรถนะได้อย่างเต็มที่ วันนี้พวกเราทีมงาน AUTOTIRECHECKING(ATC) เลยอยากจะนำเสนอทฤษฎีจากสนามแข่งขัน ว่าด้วยเรื่องความสัมพันธ์ของลมยาง และการขับขี่มาให้ลองศึกษากันดูครับ
ในสนามการแข่งขัน เรื่องการเกาะถนนของยางนั้น จะขึ้นกับโหลดในแนวตั้ง หรือน้ำหนักที่ตกลงบนยาง และนั้นหละครับด้วยการใช้งานที่อาศัยประโยชน์จากการกดของน้ำหนัก เมื่อเกิดการเข้าโค้งการถ่ายเทน้ำหนักจึงส่งผลให้การทำงานของหน้ายางเปลี่ยนไป เมื่อต้องรับน้ำหนักในการเข้าโค้งหน้ายางที่รับน้ำหนักจะเปลี่ยนไปเป็นหน้ายางด้านนอก ฉะนั้นหน้ายางด้านนอกต้องมีความสามารถในการเกาะถนนได้ดีกว่าการรับน้ำหนักเต็มหน้ายางอย่างน้อย 1.5 ถึง 2 เท่า
แรงดันลมที่อุณหภูมิทำงาน
การควบคุมแรงดันลมยางให้อยู่ในช่วงการทำงานที่ดีที่สุดนั้นเป็นเรื่องที่ละเอียดอ่อนมาก แต่ก็เป็นเรื่องที่สำคัญสำหรับการแข่งขันบนสนามแข่ง เช่นกัน เนื่องด้วย แรงดันของลมยางนั้น จะเปลี่ยนแปลงไปตามอุณหภูมิของลมยาง และแปลผันไปกับสภาพแวดล้อมภายนอก ฉะนั้นการจะทำให้แรงดันลมยางอยู่ในช่วงที่เหมาะสมนั้นนอกจากสภาพอากาศ แดด ฝน เช่น เป็นการขับขี่แบบการวิ่งระยะยาว หรือแค่สั้นๆ ประเมินการใช้เบรกหากเป็นการขับขี่ที่ใช้เบรกมากอุณหภูมิก็จะสูงขึ้นไปอีก
การเติมลมยางมาตรฐานหากเปลี่ยนขนาดล้อ หรือยาง
อย่างที่เราเคยนำเสนอไปครับการเติมลมยางนั้นในรถยนต์แต่ละคันก็จะมี ค่าลมยางมาตรฐานติดอยู่ข้างประตูคนขับเสมอ แต่เคยสงใสไหมครับว่าถ้าเกิดวันหนึ่งเราอยากจะเปลี่ยนไปใส่ ล้อขอบ 15 ,16 หรือ17 ซีรี่ยางเปลี่ยนไปใส่ 50 ,55 หรือ 60 แรงดันลมยางจะต้องเติมเปลี่ยนไปหรือไม่ คำตอบคือ เติมเท่าค่าแรงดันลมมาตรฐานเลยครับ เพราะอย่างที่กล่าวมาข้างต้นการเติมลมยางนั้นจะไปสอดคล้องกันน้ำหนักของรถ นั้นหมายความว่า น้ำหนักของรถได้ผ่านการวิเคราะห์จากทางผู้ผลิตมาแล้วว่าจะต้องใช้แรงดันลมยางตามป้ายมาตรฐานลมยางนั้นๆ เรามาดูตัวอย่างการเติมลมยางแบบรถซิ่งจากข้อมูลการวิจัยของ Hoosier กันดีกว่า ว่าในแต่ละช่วงน้ำหนักของรถแรงดันลมยางเท่าไหร่ถึงจะเหมาะกับการซิ่ง
แรงด้ันลมยางแนะนำสำหรับยาง radial ของ Hoosier (semi-slick racing tyres):
Light Vehicles 1800 – 2200lbs: Hot Pressure 32 – 34 psi
2200 – 2600lbs: 34 – 36 psi
2600 – 3000lbs: 36 – 40 psi
OVER 3000lbs 40 – 42 psi
แรงดันลมยางข้างต้นเป็นแรงดันลมยางที่อุณหภูมิทำงาน หลังจากการวอร์มจนได้อุณหภูมิ จะต่างกับการเติมลมยางตามป้ายลมยางมาตรฐานที่มาจากโรงงาน เพราะป้ายลมยางมาตรฐานที่มาจากโรงงานนั้นจะแนะนำเป็น การเติมลมยางในสถานะที่มีอุณหภูมิเท่ากับสภาพแวดล้อม
ถ้าอยากจะลองแรงดันลมแบบ Hoosier ไปทำงานทุกวันแนะนำติดที่วัดลมยางไปทุกวัน เพื่อวัดหลังถึงที่ทำงานว่าเมื่อถึงที่ทำงานแรงดันลมขยายไปเท่าไหร่ หลังจากนั้นจะปรับจะลม แรงดันลมยางอย่างไรก็หลังจากยางกลับสู่สภาพปกติ แล้วค่อยปรับลมยางเพื่อให้ได้สถานะยางที่เหมาะกับการซิ่งแบบ Hoosier กันครับ
ลมยางสำหรับการแข่ง Circuit Racing
สำหรับการแข่งแบบ Circuit Racing จะชี้วัดกันที่สภาพสนาม และการตอบสนองที่สมเหตุสมผลกับการวิ่งในระยะยาว แรงดันลมยางจากสภาพก่อนวอร์มจนถึงหลังวอร์มควรจะอยู่ราวๆ 7-8 psi จากการทดสอบด้วย Porsche 911 ที่ถูกออกแบบให้มีการถ่ายน้ำหนักแบบ 50-50 เพื่อการสร้างโหลดแก่ยางที่เท่ากันทั้ง 4 ล้อ
ลมยางสำหรับการแข่ง Autocross
ในการแข่งขันแบบ Autocross เป็นการแข่งที่มีระยะสั่นกว่ามีการใช้เบรกที่เยอะกว่าการที่จะวอร์มอุณหภูมิบนสนามนั้นคงเป็นไปได้ยาก การเติมลมในสถานะปกติจึกต้องมีการเติมให้มากกว่าการแข่งแบบ Circuit Racing แต่การวอร์มยางก็เป็นสิ่งสำคัญเพราะยางเองก็จะมีอุณหภูมิทำงานที่เพมาะสมให้เนื้อยางสามารถโชว์สมรรถนะที่ดีที่สุด ในการแข่งขันแบบ Autocross บางคนจึงมีการวอร์มยางก่อนที่จะเข้าสนามเพื่อสร้างสถานะที่พร้อมที่สุดสำหรับการแข่ง
สำหรับการเติมลมยางที่แบบสายซิ่งแบบ Hoosier ที่ผ่านการวิจัยมาแล้วอาจจะทำให้เพิ่มการเกาะถนนที่เหมาะสมกับแต่ละน้ำหนักก็จริงแต่ อาจจะส่งผลกระทบต่อการควบคุมการตอบสนองของหน้ายาง ฉะนั้นสำหรับรถบ้านๆอย่างเราสามารถเอามาปรับใช้ได้ครับแต่ก็ต้องมีการทดสอบปรับแรงดันลมยางอาจจะเริ่มจากการจับเวลาจากบ้านไปทำงาน(รถไม่ติด) จับฟิวลิ่งการขับขี่ กับลมยางตามป้ายมาตรฐานลมยางก็ได้ แล้วค่อยเพิ่มลดเมื่ออุณหถูมิยางลดลง รับลองว่าจะทำให้การขับขี่ของเพื่อนจะสนุกขึ้นแน่นอน